วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

การแต่งกายชาวเอเซีย


จีน

ประวัติความเป็นมาของจีนนั้น มีการปกครอง และการเปลี่ยนแปลงหลายราชวงค์ตั้งแต่ ราชวงค์ซ้ง (Shang) ราชวงค์โจ (Chou) ราชวงค์ฉิน (Chin) ราชวงค์ฮั่น ราชวงค์ซ้อง หรือ ซุ่ง (Sung) ราชวงค์เหม็ง จนกระทั่งชาวแมนจูได้เข้ามาปกครองจีน และมีอำนาจจนเปลี่ยนการปกครอง เป็นสาธารณรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2455

เนื่องจากภูมิประเทศของจีนเป็นประเทศที่อยู่ในเขตอากาศหนาวจัด จึงมีความจำเป็นต้อง ปกปิดร่างกายด้วยเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และมิดชิด แขนเสื้อกว้างใหญ่และยาวเพื่อเก็บมือไว้ได้ สมัยก่อนยังไม่รู้จักใช้ถุงมือ ตัวเสื้อจะยาวคร่อมเท้า แบบเสื้อจะเป็นเสื้อป้ายซ้อนกันที่หน้าอก เพื่อให้เกิดความอบอุ่น และสวมกางเกงขายาวไว้ข้างใน

สาธารณรัฐประชาชนจีน ชายจะสวมเสื้อคอปิด แขนยาว สีน้ำเงินหรือดำเรียกว่าจงหาน หรือชุดเหมา หญิงสวมชุดติดกันเข้ารูป เสื้อคอปิดหรือป้ายอก เรียกว่า ฉ่งชำ

การแต่งกายของชาวจีนและไต้หวัน

การแต่งกายชาวเอเซีย


เกาหลี
ประเทศเกาหลีมาจากชื่อแคว้น คือ คอกริโย ภายหลังเรียกว่า คอริโย ประเทศเกาหลีเป็นชาติ เอเซียที่น่าสนใจมาก คือ การรู้จักคิด และสร้างหอดูดาวหอแรกของโลก หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

  • เกาหลีใต้ มีโซล หรือเซอูลเป็นเมืองหลวง เป็นสาธารณรัฐเกาหลี
  • เกาหลีเหนือ มีเปียงยางเป็นเมืองหลวง เป็นสาธารณรัฐประชาชนเกาหลีปกครอง ระบบสังคมนิยม

การแต่งกายชาวเกาหลีมีชุดแต่งกายประจำชาติตั้งแต่สมัยโบราณเรียกว่าฮันบก มี ลักษณะหลวม ๆ ไม่ใช้กระดุม แต่ใช้ผ้าเย็บเป็นเส้นใช้ผูกแทน

หญิง สวมกระโปรงทรงหลวมยาวถึงข้อเท้า สวมเสื้อคลุมผ่าอกตัวสั้น ๆ อยู่เหนือเอว แขนยาวถึงข้อมือ ฮันบกไม่มีปก ตัวเสื้อไขว้กัน มีโบว์ผูกที่อกด้านขวา เรียกว่า “จอโกลี” หน้าหนาว จะสวมทูรูมาคี ถุงเท้าเรียกว่า ฟอซ็อน สวมรองเท้ายาวสีขาว มีปลายงอนเล็กน้อย เรียกว่า โกมูซิน มีผ้าผูกที่หน้าอกในแทนเสื้อยกทรง เรียกว่า ซ๊อกซีมา กระโปรงกับเสื้อคลุมจะสีเดียวกันก็มี คนละ สีก็มี กระโปรงเรียกว่า ซีมา ทำด้วยผ้าฝ้ายไหมอย่างดี ผ้าไหมของเกาหลีเนื้อหนา มีน้ำหนักมาก มีจีบรอบขึ้น มาเหนืออกมีผ้าขลิบตามคอ สีจะติดกับแขน ทรงกระโปรงจะเรียกว่า ทรง Empire

ชาย สวมกางเกงขายาวสีขาวหลวม ๆ เรียกว่า บาจี รวบปลายขาด้วยแถบผ้าเรียกว่า “แทนิน” สวมถุงเท้า เรียกว่า “ยังมัล” สวมเสื้อแขนสั้น รัดรูปแขนสั้น ไว้ข้างในเรียกว่า “บันโซเม” สวมเสื้อหลวม ๆ หรือแต่งแบบชาวตะวันตก เสื้อประจำชาติเป็นเสื้อตัวยาว แขนยาวไม่มีปกไม่มี กระเป๋า เรียกว่า “จอโกรี” แต่บางทีสวมเสื้อกัก ไม่มีแขน มีกระเป๋าเรียกว่า “โจ๊ะกี” ผู้ชายนิยมสวม หมวกสีดำ ไม่มีปีกเหมือนผ้าโปร่ง รัดรอบศีรษะ เรียกว่า “ท้งก็อน” แล้วสวมหมวกทรงสูงมีปีก เรียกว่า “คัช”

การแต่งกายของชาวเกาหลี

การแต่งกายชาวเอเซีย


สหภาพพม่า
พม่า เป็นชาติที่ไทยเรารู้จักกันมานาน ปัจจุบันพม่ามีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยจึงเรียกว่า “สหภาพพม่า” พม่ามีอาณาเขตใกล้เคียงกับไทย และสามารถ ติดต่อกันได้ทั้งทางบก น้ำและอากาศ สหภาพพม่ามีประชากรเป็นชนเชื้อชาติต่าง ๆ หลายเผ่า และเคยตกเป็นเมืองขึ้น ของอังกฤษ แต่วัฒนธรรมทางด้านศิลปะ ศาสนา และเครื่องแต่งกายก็ยัง มิได้เปลี่ยนแปลงไป

การแต่งกาย เครื่องแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง ที่เรียกว่า “ลองยี” (Longeje) ซึ่งมีทั้งผ้าฝ้ายและไหมที่มีสีสด ของผู้หญิงจะมีลายเชิงด้านล่างและมีลวดลายเล็ก ๆ กระจายทั่ว ผืนผ้า ลวดลายของแต่ละท้องถิ่นจะต่างกัน ผ้าที่ทอมาจากเมืองอมรปุระเป็นลวดลายดอกไม้ เครือไม้ หรือเป็นดอกเป็นลายตามขวาง ไม่นิยมใช้เข็มขัด สวมเสื้อตัวสั้น คอกลม ผ่าอกติดกระดุม 5 เม็ด แขนกระบอกยาวจรดข้อมือ บางครั้งเป็นแขนสั้น เลยไหล่ลงมาเล็กน้อย ผ้าตัดเสื้อนิยมใช้ ผ้าเนื้อบาง สีสด เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าป่าน หรือผ้าไนลอน สวมรองเท้าคีบรองเท้าแตะ ทั้งหญิง ชาย แต่ของหญิงจะเป็นสี มีลวดลายเป็นดอกดวง ปักด้วยลูกปัด หรือดิ้น เงินดิ้น ทอง สะพายย่าม ซึ่งเป็นผ้าไหมสีสวยสดทอมาจากรัฐฉาน

ผม โดยทั่วไปไว้ผมยาวเกล้าสูง บางทีก็ปล่อยชายห้อยลงมาไว้ทางซ้ายบ้างขวางบ้าง มีดอกไม้แซมผม เครื่องประดับ นิยมหิน และพลอยที่มีค่าเช่น ทับทิม นิล และหยก

ชาย
เครื่องแต่งกาย นุ่งโสร่งเช่นเดียวกับหญิงแต่สีไม่ฉูดฉาด เป็นลายตาราง โตบ้าง เล็กบ้าง หรือเป็นลายทางยาวบ้าง โดยทั่วไปใส่เสื้อขาว เมื่อมีพิธีจะสวมเสื้อคล้ายเสื้อจีนแขนยาว ถึงข้อมือ แบบหนึ่ง เรียกว่า “กุยตั๋ง” เป็นเสื้อชายสั้น ๆ ติดดุมถักแบบจีนป้ายมาข้าง ๆ อีกแบบเรียกว่า “กุยเฮง” ตัวยาวถึงสะโพก และติดกระดุมตั้งแต่คอตรงมาจดชายเสื้อใช้สีสุภาพ เช่น ขาวดำ หรือ นวล ถ้าอากาศหนาวจะสวมเสื้อกัก ทอสักหลาดทับอีกชิ้น หนึ่ง จะสวมรองเท้าหุ้มส้นเมื่อมีพิธี

ผม ตัดผมสั้น ไม่นิยมสวมหมวก หรือโพกศีรษะตามประเพณีเดิม เมื่อมีพิธีจะมีผ้าหรือ แพรโพกศีรษะทำเป็นกระจุกปล่อยชายทิ้งไว้ทางด้านขวา นิยมใช้สีชมพู

ชาวพม่านิยมผลิตผ้าทอมือ แต่จะมีชาวเผ่าหนึ่งคือ พวก Yabeins แปลว่า ผู้ปลูกไหม ได้ ทอผ้าไหมที่มีลวดลายวิจิตรบรรจง เรียกว่า ผ้าตราหมากรุก (Check) นิยมทำกระโปรงแต่งงาน และเครื่องแต่งกายในพิธี ผ้าชนิดนี้จะมีเนื้อแน่น แข็งมาก ก่อนใช้ต้องนำไปแช่น้ำและทุบเสียก่อน เพื่อให้ผ้าเนื้อนิ่ม สีจะสวย ทนทาน นิยมใช้เป็นลองยีของสตรี ชาวพม่าได้เลียนแบบผ้าซิ่นผ้าไหมจากบางกอก เรียกว่า Bangkok lungis จะทอด้วยเส้น ไหมควบ นิยมทำสีอมเทา สีเหลืองอำพัน และสีเขียวทึม ๆ เป็นที่นิยมของสตรีพม่ามาก

การแต่งกายของชาวพม่า

การแต่งกายชาวเอเซีย


เวียดนาม
ตามข้อตกลงของการประชุมการสงบศึกษาในอินโดจีนที่กรุงเจนิวา เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้ แบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. เวียดนามเหนือ อยู่ที่เมืองเว้ ปกครองระบบคอมมูนิสต์
  2. เวียดนามใต้ มีเมืองไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวง ปกครองระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดี เป็นประมุข

ชาวเมืองไซ่ง่อนได้รับประเพณีต่าง ๆ มาจากแต่ครั้งฝรั่งเศสปกครอง เช่น การหยุดพักนอน กลางวันในวันทำงาน การก้มศีรษะและโค้งตัวเวลาพบปะกันจับมือกัน ที่เหมือนไทยคือ ยังคง รับประทานหมากให้ฟันดำ แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว

การแต่งกาย
ผู้หญิง นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า

ผม ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย 2 ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ

ชาย แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว

ในเวียดนามใต้มีชาวเขาเผ่าหนึ่งเรียกว่า พวกม้อย จะนุ่งผ้าสั้น ๆ ปกปิดร่างกายแต่เฉพาะ ท่อนล่างคล้ายนุ่งใบไม้ ปัจจุบันหญิงสวมเสื้อ นิยมเจาะหูสอดไม้ซึ่งเหลาแหลม ๆ สวมกำไลคอ

จากประวัติความเป็นมาจะเห็นว่าชาวเวียดนามมีการแต่งกายผสมผสานกันมีทั้งไทยมุง หรือ อ้ายลาวระยะแรก ปนของจีนบ้าง เช่น ลักษณะของเสื้อที่ป้ายซ้อนกันบริเวณอก คอปิด แขน ยาว แต่แตกต่างจากไทยและจีนตรงที่การใช้ผ้า ถึงแม้ว่าจะใส่กางเกงแล้ว ยังนิยมสวมเสื้อผ้าบาง ที่เปิดจนถึงเอวทั้ง 2 ข้าง ให้เห็นรูปทรงและสัดส่วนที่งดงาม ชาวเวียดนาม ได้ชื่อว่า เป็นชาติมี ผิวพรรณงามที่สุดในโลกอีกด้วย

ชนเผ่าไทในเวียดนามจะมีการทอผ้าออกมางดงามมาก ซึ่งจะมีลวดลายบนผืนผ้าทอที่ แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละลายนั้น มีความหมายและมีเทคนิคการทอที่แตกต่างกันอย่าง เช่น ลาย ดาวแปดแฉก จะเป็นลายดาวแปดแฉกตรงกลางของผ้า หรือในผ้าเปียว (ผ้าโพกศีรษะ) และยังมี ลายเส้นจุด (ลายคลื่น) ลายฟันเลื่อย (ลายหยักหงอนไก่) ลายขอ (ลายกูด) ลายเหรียญ (ลายจำ หลอด) ลายรูปหัวใจ (ลายหมากจุ้ม) เป็นต้น ลวดลายต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะปรากฏอยู่บนผืน ผ้าแล้วยังปรากฏในเครื่องปั้นดินเผา และกลองสำริดด้วย

การแต่งกายของชาวเวียดนาม

ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวมลายู


ประเทศมาเลเซียเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ประกอบขึ้นด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ ประเทศมาเลเซียมีดินแดนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นรัฐต่างๆจำนวน 11 รัฐตั้งอยู่บนแหลมมลายู อีกส่วนหนึ่งมี 2 รัฐตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ รัฐที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ๆจำนวน 3 ชาติพันธุ์ คือ มลายู จีน และอินเดีย ส่วนรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีจำนวนชาติพันธุ์หลายสิบชนเผ่า

ดังนั้นชาวมาเลเซียจึงมีความหลากหลายทางขนบธรรมเนียมประเพณี ขอแนะนำชาติพันธุ์มลายูและขนบธรรมเนียมปะเพณีชาวมลายูมาเป็นตัวอย่าง

ภาคตะวันตก

พื้นที่ของภาคตะวันตกมีขนาดใหญ่ถัดจากภาคตะวันออกขึ้นมา แต่พื้นที่ในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและหุบเขาแคบ ๆ พื้นที่ที่เป็นที่ราบค่อนข้างกว้างคือบริเวณดินตะกอนรูปพัดในพื้นที่บางส่วนของจัหวัดกาญจนบุรี และที่ราบชายฝั่งของจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี ภาคนี้ประกอบด้วยจังหวัด 5 จังหวัด คือ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ ประชากรพูดสำเนียงไทยภาคกลาง แต่จะมีเสียงเพี้ยนบ้างที่จังหวัดเพชรบุรี ส่วนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยเฉพาะอำเภอบางสะพานจะพูดสำเนียงคล้ายไทยทางภาคใต้ ชาวไทยในภาคตะวันตกแต่งกายเช่นเดียวกับชาวไทยในภาคกลาง เนื่องจากทางภาคตะวันตกเป็นจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับพม่าจึงมีชนกลุ่มน้อย ประกอบด้วยกะเหรี่ยง มอญ และพม่า เข้ามาอาศัยปะปนอยู่ตามบริเวณที่เป็นชายแดน
อาชีพในภาคตะวันตก ที่สำคัญได้แก่ การปลูกพืชไร่ แหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนการทำไร่สับปะรดทำกันมากในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี พืชทั้งสองชนิดมีโรงงานแปรรูปคือ โรงงานน้ำตาล และโรงงานสับปะรดกระป๋อง นับว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องครบวงจรช่วยให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ดีและมั่นคง การทำนาและทำสวนมีในจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี การเลี้ยงโคนมในจังหวัดราชบุรีกำลังได้รับการส่งเสริมและขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะความต้องการบริโภคโคนมในประเทศมากขึ้น เป็นที่น่าสังเกตว่าภาคตะวันตกมีลักษณะภูมิประเทศอำนวย จึงมีเขื่อนเก็บกักน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ถึงสามแห่ง คือ เขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตาก เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนเขาแหลมที่จังหวัดกาญจนบุรี นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำมากที่สุดของประเทศ นอกจากนั้นที่จังหวัดกาญจนบุรีมีการขุดพลอยที่อำเภอบ่อพลอยและมีการเจียระไนพลอยกัน แต่มีไม่มากเมื่อเทียบกับภาคตะวันออก
ภาคตะวันตกมีชายฝั่งทะเลในจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ และมีสถานที่ชายทะเลที่สำคัญคือ ชะอำและหัวหิน เนื่องจากชายฝั่งบริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จประพาสและทรงประทับอยู่ในเมืองเพชรบุรีเป็นเวลายาวนาน เพื่อฝึกซ้อมรบทางทะเลเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระองค์ จังหวัดเพชรบุรีจึงได้ขอพระราชทานนามให้เรียกชายฝั่งแถบนี้ว่า ชายฝั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นการถวายพระราชสดุดีแด่พระองค์ท่าน ชายฝั่งนี้เริ่มตั้งแต่บริเวณหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ตลอดไปจนถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การแต่งกายภาคตะวันออก


ในภาคตะวันออกการแต่งกายมีลักษณะเช่นเดียวกับคนภาคกลางเดิมที่ภาคนี้เรียกรวมกับคนภาคกลาง แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งต่างไปจากภาคกลางผลิตผลและภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้จังมีลักษณะเด่นขัดของตนเองที่แยกออกไปได้